เริ่มต้นการใช้งาน

 

โปรแกรม Visual Basic (VB) เป็นโปรแกรมสำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่กำลังเป็นที่ นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน โปรแกรม Visual Basic เป็นโปรแกรมที่ได้เปลี่ยนรูปแบบการเขียนโปรแกรมใหม่ โดยมีชุดคำสั่งมาสนับสนุนการทำงาน มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า คอนโทรล(Controls) ไว้สำหรับช่วยในการออกแบบโปรแกรม โดยเน้นการออกแบบหน้าจอแบบกราฟฟิก หรือที่เรียกว่า Graphic User Interface (GUI) ทำให้การจัดรูปแบบหน้าจอเป็นไปได้ง่าย และในการเขียนโปรแกรมนั้นจะเขียนแบบ Event - Driven Programming คือ โปรแกรมจะทำงานก็ต่อเมื่อเหตุการณ์ (Event) เกิดขึ้น ตัวอย่างของเหตุการณ์ได้แก่ ผู้ใช้เลื่อนเมาส์ ผู้ใช้กดปุ่มบนคีย์บอร์ด ผู้ใช้กดปุ่มเมาส์ เป็นต้น

เครื่องมือ หรือ คอนโทรล ต่าง ๆ ที่ Visual Basic ได้เตรียมไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็น Form TextBox Label ฯลฯ ถือว่าเป็นวัตถุ (Object ในที่นี้ขอใช้คำว่า ออบเจ็กต์) นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือใด ๆ ใน Visual Basic จะเป็นออบเจ็กต์ทั้งสิ้น สามารถที่จะควบคุมการทำงาน แก้ไขคุณสมบัติของออบเจ็กต์นั้นได้โดยตรง ในทุกๆ ออบเจ็กต์จะมีคุณสมบัติ (properties) และเมธอด (Methods) ประจำตัว ซึ่งในแต่ละออบเจ็กต์ อาจจะมีคุณสมบัติและเมธอดที่เหมือน หรือต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของออบเจ็กต์

ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้วย Visual Basic การเขียนโค้ดจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า โพรซีเดอร์ (procedure) แต่ละโพรซีเดอร์จะประกอบไปด้วย ชุดคำสั่งที่พิมพ์เข้าไปแล้ว ทำให้คอนโทรลหรือออบเจ็กต์นั้น ๆ ตอบสนองการกระทำของผู้ใช้ ซึ่งเรียกว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming-OOP) แต่ตัวภาษา Visual Basic ยังไม่ถือว่าเป็นการเขียนโปรแกรมแบบ OOP อย่างแท้จริง เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ Visual Basic ไม่สามารถทำได้

เข้าสู่โปรแกรม Visual Basic

เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Visual Basic จะแสดงกรอบโต้ตอบสำหรับเลือกชนิดของโปรแกรมประยุกต์ ที่ต้องการ


รูปที่ 1-1 กรอบโต้ตอบเมื่อเริ่มเปิด Visual Basic

 

  ใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทั่ว ๆ ไป

  ใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่สามาระใช้งานและเชื่อมโยงกับโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ที่สนับสนุนเทคโนโลยี ActiveX

  เป็นโปรแกรมประยุกต์ชนิดเดียวกันกับ ActiveX.EXE แต่จะเก็บเป็นไฟล์ไลบราลี่ไม่สามารถประมวลผลได้ด้วยตัวมันเอง จะต้องถูกเรียกใช้งานจากโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ

  ใช้สร้างคอนโทรล ActiveX ขึ้นมาใช้งานเอง

  เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถสร้างโปรแกรมประยุกต์ได้อย่างรวดเร็ว โดยจะสร้างองค์ประกอบเบื้องต้นหลัก ๆ ของโปรแกรมประยุกต์ จากขั้นตอนที่ได้เลือกไว้

  ใช้สำหรับสร้างโปรแกรมการจัดการต่าง ๆ เช่น การติดต่อกับฐานข้อมูล เป็นต้น

  เป็นชนิดโปรเจ็กต์ที่เป็นแบบฟอร์ม เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูลโดยผ่านทางคอนโทรล ADO Data Control

  โปรแกรมประยุกต์ชนิดที่ใช้กับ Web Server

  ใช้สำหรับเพิ่มเติม utility เข้าไปใน Visual Basic เพื่อเพิ่มความประสิทธิภาพ

  ใช้สร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ประมวลผลบน Internet จะเก็บอยู่ในรูปไฟล์ .dll ไม่สามารถประมวลผลได้ด้วยตัวมันเอง ต้องให้โปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ที่สนับสนุนเทคโนโลยี ActiveX เรียกใช้งาน เช่น Internet Explorer เป็นต้น

  ใช้สร้างโปรแกรมประยุกต์ชนิดที่ประมวลผลบน Internet เช่นกัน แต่จะเก็บอยู่ในรูปไฟล์ .exe สามารถประมวลผลได้ด้วยตัวเอง แต่ server จะต้องสนับสนุนเทคโนโลยี ActiveX ด้วยเช่นกัน เช่น Internet Explorer เป็นต้น

  ใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์รูปแบบของเอกสาร Dynamic HTML ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ของการแสดงผลบน web

  ใช้สำหรับโหลด Visual Basic ในรูปแบบที่ใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ในระดับ Enterprise ซึ่ง Visual Basic จะเพิ่มคอนโทรล ActiveX อีกจำนวนหนึ่งขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

 

สำหรับ แท็ป Existing ใช้สำหรับเปิดโปรเจ็กต์ที่คุณมีอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยเปิดใช้

           แท็ป Recent จะแสดงรายชื่อโปรเจ็กต์ที่เคยเรียกใช้แล้ว

เมื่อเลือกชนิดของโปรแกรมประยุกต์เป็นแบบ Standard EXE จะเข้าสู่หน้าต่างของ Visual Basic ดังรูปที่ 1- 2


รูปที่ 1-2 หน้าต่างของ Visual Basic เมื่อเริ่มโปรแกรม

 

ในแต่ละส่วนของ Visual Basic จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งในระหว่างการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ จะต้องใช้ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์

ทูลบาร์ (Toolbars)

เป็นแถบสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับเข้าถึงชุดคำสั่งของ Visual Basic ได้ทันที โดยจะนำคำสั่งที่ถูกใช้งานบ่อย ๆ มาแสดง


รูปที่ 1-3 Toolbars

 

ทูลบาร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. Standard Toolbars เป็นทูลบาร์มาตรฐานประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการ Project

2. Edit Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับช่วยในการเขียนโค้ดใน code editor

3. Debug Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบการทำงานการประมวลผลโปรแกรม

4. Form Editor Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับช่วยในการปรับขนาด, ย้าย, เปลี่ยนตำแหน่งคอนโทรลต่าง ๆ ที่อยู่บนฟอร์ม

Toolboxs

คือแถบสัญลักษณ์ Controls ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ แบ่ง เป็น 2 กลุ่ม คือ


รูปที่ 1-4 Toolboxs

 

1. คอนโทรลภายใน (Intrinsic controls)   เป็นชุดคอนโทรลมาตรฐานของ Visual Basic ทุก ๆ ครั้งที่มีการเรียกใช้ Form เพื่อสร้างโปรแกรมประยุกต์ คอลโทรลชุดนี้จะถูกเรียกขึ้นมาอัตโนมัติ สามารถเลือกใช้งานคอลโทรลกลุ่มนี้ได้ทันที

 


รูปที่ 1-5 แสดงรายการคอนโทรล ActiveX เพิ่มเติม

 

2. คอนโทรล ActiveX (ActiveX controls) เป็นชุดคอนโทรลเพิ่มเติมที่ไมโครซอฟท์จัดเตรียมไว้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การเพิ่มคอนโทรลกลุ่มนี้เข้ามาในทูลบ๊อกซ์ทำโดยเลือกเมนู Project/Components (หรือคลิ๊กขวาตรงแถบทูลบ๊อกซ์เลือกคำสั่ง



Form Designer

เป็นส่วนที่ใช้ออกแบบการแสดงผลส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้ ฟอร์มเป็นออบเจ็กต์แรกที่ถูกเตรียมไว้ให้ใช้งาน คอลโทรลทุกตัวที่ต้องการใช้งานจะต้องนำไปบรรจุไว้ในฟอร์ม นำคอลโทรลมาประกอบกันขึ้นเป็นโปรแกรมประยุกต์ ทุกครั้งที่เปิด Visual Basic ขึ้นมา หรือ สร้าง Project ใหม่จะมีฟอร์มว่าง 1 ฟอร์มถูกสร้างเตรียมไว้เสมอ


รูปที่ 1-6 Form Designer



Project Explorer

Project Explorer ใช้สำหรับบริหารและจัดการโปรเจ็กซ์ โดยจะแสดงองค์ประกอบของแต่ละโปรเจ็กต์แบบโครงร่างต้นไม้ (tree-view)ตัวโปรเจ็กตจะหมายถึงโปรแกรมประยุกต์ซึ่งจะอยู่ส่วนบนสุด ถัดมา จะแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรเจ็กต์นั้น ๆ ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ฟอร์มโมดูล รายงาน เป็นต้น ถ้ามี 2 โปรเจ็กต์ขึ้นไป ก็จะแสดงแยกออกเป็นส่วนต่างหากอีกโปรเจ็กต์ ถ้าต้องการใช้งานส่วนใด ของโปรเจ็กต์ไหนก็สามารถคลิ๊กเลือกได้ทันที

               
รูปที่ 1-7 Project Explorer แบบโปรเจ็กต์เดียว และ แบบหลายโปรเจ็กต์



ส่วนประกอบของโปรเจ็กต์

Project(n)

  คือโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาอยู่ มีนามสกุล .vbp

Form(n)

  เป็นฟอร์มที่มีอยู่ในโปรเจ็กต์นั้น ๆ ใน 1 โปรเจ็กต์อาจมีมากกว่า 1 ฟอร์มก็ได้ มีนามสกุล .frm

Modules

  เป็นที่เก็บชุดคำสั่งที่คุณเขียนขึ้นมา โดยจะเก็บชุดคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆมีนามสกุล .bas

Class Modules

  เป็นโมดูลชนิดพิเศษที่มีลักษณะเป็นอ๊อบเจ็กต์ ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ จะมีนามสกุล .cls

User controls

  เป็นส่วนที่เก็บคอนโทรล ActiveX ที่คุณสร้างขึ้นมา มีนามสกุล .ctl

Designers

  เป็นส่วนของรายงานที่ถูกสร้างขึ้นมีนามสกุลเป็น .dsr



Properties Window

หน้าต่างคุณสมบัติเป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของออบเจ็กต์ที่ถูกเลือก (adtive) หรือได้รับความสนใจ (focus) อยู่ขณะนั้น ซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ของคอลโทรลเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและตรงกับความต้องการใช้งานได้ทันที


รูปที่ 1-8 Properties Window

 

ในหน้าต่างคุณสมบัติ จะประกอบไปด้วยแท็ป 2 แท็ป คือ

1. แท็ป Alphabetic เป็นแท็ปที่แสดงรายการคุณสมบัติ เรียงตามตัวอักษรในภาษาอังกฤษ

2. แท็ป Categorized เป็นแท็ปที่แสดงรายการคุณสมบัติ โดยการจัดกลุ่มของคุณสมบัติที่มีหน้าที่คล้ายกัน หรือมีความสัมพันธ์กัน

หน้าต่าง Form Layout

เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นตำแหน่งของฟอร์ม และสามารถกำหนดตำแหน่งของฟอร์ม ที่ปรากฎบนจอภาพในขณะประมวลผลได้ โดยการเคลื่อนย้ายฟอร์มจำลอง ที่อยู่ในจอภาพจำลองด้วยการ drag เมาส์ ไปยังตำแหน่งทีคุณต้องการ โดยจะมีผลในขณะประมวลผลเท่านั้น


รูปที่ 1-9 Form Layout



Immediate Window

เป็นหน้าต่างที่ให้ประโยชน์ ในกรณีทีคุณต้องการทราบผล การประมวลผลโดยทันที เช่น การทดสอบโปรแกรมย่อยต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อคุณสั่งประมวลผลโปรเจ็กต์ หน้าต่างนี้จะปรากฎขึ้นโดยอัตโนมัติ


รูปที่ 1-10 Immediate Window



หน้าต่าง New Project

หน้าต่าง New Project จะปรากฎขึ้นมาเมื่อเลือกเมนู File/New Project กรอบโต้ตอบนี้ จะแสดงชนิดของโปรแกรมประยุกต์ ที่คุณต้องการพัฒนา ซึ่งจะคล้ายกับตอนที่เปิดโปรแกรม Visual Basic ขึ้นมาครั้งแรก


รูปที่ 1-11 กรอบโต้ตอบ New Project



หน้าต่าง Code Editor

เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียนชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผล และควบคุมการทำงานของคอลโทรลต่าง ๆ


รูปที่ 1-12 Code Editor

 

 

จากบทที่ 1 จะเห็นว่าเครื่องมือ หรือ คอนโทรล ต่าง ๆ ที่ Visual Basic ได้เตรียมไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็น Form, Textbox, Label, ฯลฯ ถือว่าเป็นวัตถุ ซึ่งเรียกว่า Object ในบทนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับ Object, Properties, Method และ Event รวมทั้งทำความรู้จักกับ Form และประเภทของ Form

ออบเจ็กต์ พร็อพเพอร์ตี้ และเมธอดของ คืออะไร

อ็อบเจ็กต์ (objects) คือสิ่งใด ๆ ก็ตาม ซึ่งมีคุณสมบัติ (Properties) ที่บ่งบอกความเป็นตัวเองในขณะนั้น และสามาระแสดงพฤติกรรม (Method) ของตัวเองออกมาได้ เช่น คอนโทรลต่าง ๆ

คุณสมบัติ (properties) คือสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นวัตถุ และอยู่ภายในตัววัตถุซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่น รูปร่าง ลักษณะ ความกว้าง ความยาว ฯลฯ สำหรับในแต่ละคอนโทรล หรือออบเจ็กต์ อาจจะมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน หรือต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของแต่ละคอนโทรล คอนโทรลหรือออบเจ็กต์หนึ่ง ๆ จะมีคุณสมบัติมากมาย หลายอย่าง ยิ่งสามารถปรับแต่งคุณสมบัติให้ตรงกับความต้องการมากเพียงใด โปรแกรมประยุกต์ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นได้ดี ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สามารถปรับแต่ง คุณสมบัติได้จากหน้าต่างProperties หรือปรับแต่งด้วยการเขียนโค้ดก็ได้จะมีคุณสมบัติบางตัว ที่ไมโครซอฟท์แนะนำให้ ปรับแต่งด้วยการเขียนโค้ด และบางตัวปรับแต่งด้วยการแก้ไขในหน้าต่าง Properties และในทางปฏิบัติไม่จำเป็นต้องปรับแต่งทุก ๆ คุณสมบัติ เพราะ Visual Basic ได้ตั้งค่าเริ่มต้น ไว้ให้แล้ว ซึ่งก็สามารถใช้งานได้ในระดับหนึ่ง

เมธอด (methods) หมายถึง อาการที่วัตถุใด ๆ แสดงออกมาหรือถูกให้แสดงออกมาโดยพฤติกรรมใดๆ ของวัตถุนั้น จะมีผลเชื่อมโยงไปถึงข้อมูลคุณลักษณะภายในวัตถุเองด้วย อาจกล่าวได้ว่า เป็นการควบคุมการทำงานของคอนโทรล หรือออบเจ็กต์นั่นเอง จะใช้จุดเป็นตัวคั่นระหว่างชื่อคอนโทรลกับเมธอด ซึ่งจะเห็นได้ว่า คุณสมบัติและเมธอดมีคามใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากจะใช้จุด . เป็นตัวแยกระหว่าง ชื่อคอนโทรลกับคุณสมบัติ หรือชื่อคอนโทรลกับเมธอด จะมีความแตกต่างกัน ในแง่ของการควบคุมคอนโทรล หรือออบเจ็กต์ ซึ่งจะได้ศึกษาในหัวข้อต่อ ๆ ไป

ฟอร์ม

ฟอร์ม (Form) คือ หน้าต่างที่ใช้สำหรับแสดงผล โดยจะมี ActiveX Controls ต่าง ๆ บรรจุอยู่ภานใน มีหน้าที่สำหรับติดต่อกับผู้ใช้งาน โดย Form ก็ถือว่าเป็นออบเจ็กต์ด้วย

ประเภทของฟอร์ม

ฟอร์มแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. SDI Form (Single Document Interface Form) เป็นฟอร์มที่สามาระทำงานได้อย่างอิสระ สามารถที่จะวางเครื่องมือต่าง ๆ ได้


รูปที่ 2-1 SDI Form

 

2. 2. MDI Form (Multiple Document Interface Form) เป็นฟอร์มที่ใช้บรรจุ SDI Form ไว้ โดย SDI Form ที่จะบรรจุอยู่ภายใต้ MDI Form จะต้องกำหนดคุณสมบัติของฟอร์มให้เป็น MDI child ก่อน สำหรับ MDI Form จะสามารถวางเครื่องมือได้เพียงบางอย่างเท่านั้น


รูปที่ 2-2 MDI Form

 

ใน Project แต่ละ Project นั้นจะมี SDI Form ได้ไม่จำกัด แต่จะมี MDI Form ได้เพียงแค่ 1 ฟอร์มเท่านั้น และสำหรับ Project ใดก็ตามที่มีการเรียกใช้ MDI Form และได้กำหนดคุณสมบัติของ SDI Form ให้เป็น MDI Child เมื่อทำการปิด MDI Form แล้วนั้นจะมีผลทำให้ SDI Form ที่เป็น MDI Child ถูกปิดตามไปด้วย

พร็อพเพอร์ตี้ที่สำคัญของฟอร์ม

Name

  ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

BackColor

  ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น

BorderStyle

  ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของเส้นขอบ

Caption

  ใช้สำหรับกำหนดข้อความบน Title Bar ของ Form

ControlBox

  ใช้สำหรับกำหนดให้มีปุ่มควบคุมของ Form

Enabled

  ใช้สำหรับกำหนดให้ Form สามารถใช้งานได้หรือไม่

Font

  ใช้สำหรับกำหนดตัวอักษรของข้อความอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน Form

ForeColor

  ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษรของข้อความอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน Form

MaxButton

  ใช้สำหรับกำหนดให้มีปุ่มขยายขนาดของ Form

MDI Child

  ใช้สำหรับกำหนดให้ Form มีคุณสมบัติเป็น Form ย่อยของ MDI Form

MinButton

  ใช้สำหรับกำหนดให้มีปุ่มย่อขนาดของ Form

Moveable

  ใช้สำหรับกำหนดให้ Form สามารถย้ายตำแหน่งได้หรือไม่

Picture

  ใช้สำหรับกำหนดรูปบน Form

ShowInTaskbar

  ใช้สำหรับกำหนดให้มีไอคอนแสดงบน Taskbar

StartUpPosition

  ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งการแสดง Form บนจอภาพ

Visible

  ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง Form

WindowState

  ใช้สำหรับกำหนดขนาดของ Form เมื่อมีการทำงาน



เมธอดที่สำคัญของ Form

Hide

  เป็นการทำงานที่สั่งให้ซ่อน Form

Line

  เป็นการทำงานที่สั่งให้วาดเส้นลงบน Form

Move

  เป็นการทำงานที่สั่งให้ Form ย้ายตำแหน่งไปยังตำแหน่งที่กำหนด

Print

  เป็นการทำงานที่สั่งให้พิมพ์ Form ออกทางเครื่องพิมพ์

Show

  เป็นการทำงานที่สั่งให้แสดง Form

Unload

  เป็นการทำงานที่สั่งให้ยกเลิกการใช้งานของ Form



อีเวนต์ที่สำคัญของ Form

Activate

  จะเกิดขึ้นเมื่อเลือกใช้งาน Form กรณีที่มีการเปิด Form หลาย ๆ Form พร้อมกัน

Initialize

  จะเกิดขึ้นเมื่อ Form ถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำ

Load

  จะเกิดขึ้นเมื่อ Form แสดงผลหลังจากที่ถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำ

QueryUnload

  จะเกิดขึ้นเมื่อมีการปิด Form

Terminate

  จะเกิดขึ้นเมื่อ Form ถูกลบออกจากหน่วยความจำ

Unload

  จะเกิดขึ้นเมื่อ Form ถูกยกเลิกการใช้งาน

 

การกำหนดค่าพร็อพเพอร์ตี้ของ Form สามารถจะกำหนดได้ 2 วิธีด้วยกันคือ

        1. กำหนดจาก Properties Window


รูปที่ 2-3 การกำหนดค่าใน Properties Window

 

        2. กำหนดโดยการเขียนชุดคำสั่งใน Code Editor


รูปที่ 2-4 การกำหนดค่าใน Code Editor

 

 

ActiveX Control พื้นฐาน

 

ในการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างโปรแกรมประยุกต์ด้วย Visual Basic นั้น ActiveX Control เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การพัฒนาโปรแกรมเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ในบทนี้เราจะได้เรียนรู้การใช้งาน Control เรียนรู้เกี่ยวกับ พร็อพเพอร์ตี้ เมธอด และ อีเวนต์ ของ ActiveX Control พื้นฐาน ของ Visual Basic

การใช้งาน ActiveX Control

ActiveX Control คือเครื่องมือที่ Visual Basic ได้จัดเตรียมไว้ให้นักพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ให้เกิดความง่ายและรวดเร็วในการเขียนโปรแกรม โดย ActiveX Control พื้นฐานที่ Visual Basic เตรียมไว้ที่ถูกนำมาใช้อยู่เสมอในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์มีรายละเอียดดังนี้


รูปที่ 3-1 Toolboxs แสดง ActiveX Control พื้นฐานของ Visual Basic ที่ใช้บ่อย


Label :
แถบอักษร  

 แถบอักษร หรือ แถบข้อความ ใช้เพื่อแสดงข้อความ เมื่อแสดงผลจะไม่สามารถพิมพ์แก้ไขข้อมูลได้ นอกจากจะเขียนชุดคำสั่งกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลง

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ Label

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

Alignment

ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของข้อมูลบน

 

AutoSize

ใช้สำหรับกำหนดขนาดของ Label ให้มีขนาดพอดีกับข้อมูลอัตโนมัติ

 

BackColor

ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น

 

BackStyle

ใช้สำหรับกำหนดแบบของพื้นหลังให้เป็นแบบทึบหรือโปร่งใส

 

BorderStyle

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของเส้นขอบ

 

Caption

ใช้สำหรับกำหนดข้อความ

 

DataField

ใช้สำหรับกำหนด Field ที่ต้องการเชื่อมต่อ

 

DataFormat

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของการแสดงผลข้อมูลใน Label

 

DataSource

ใช้สำหรับกำหนดแหล่งข้อมูลหรือตารางที่ต้องการเชื่อมต่อ

 

Enabled

ใช้สำหรับกำหนดให้สามารถใช้งานได้

 

Font

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบตัวอักษร

 

ForeColor

ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษร

 

ToolTipText

ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม

 

Visible

ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง Label

 

อีเวนต์ที่สำคัญของ Label

 

Click

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการ Click Mouse ที่ Label



TextBox :
กรอบข้อความ  

 กรอบข้อความใช้สำหรับรับข้อมูล ขณะที่ทำการประมวลผล

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ TextBox

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

Alignment

ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของข้อมูล

 

BackColor

ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น

 

BorderStyle

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของเส้นขอบ

 

Caption

ใช้สำหรับกำหนดข้อความ

 

DataField

ใช้สำหรับกำหนด Field ที่ต้องการเชื่อมต่อ

 

DataFormat

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของการแสดงผลข้อมูลใน TextBox

 

DataSource

ใช้สำหรับกำหนดแหล่งข้อมูลหรือตารางที่ต้องการเชื่อมต่อ

 

Enabled

ใช้สำหรับกำหนดให้สามารถใช้งานได้

 

Font

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบตัวอักษร

 

ForeColor

ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษร

 

Index

ใช้สำหรับกำหนดลำดับสมาชิกของ TextBox กรณีที่กำหนดให้เป็น Array

 

Locked

ใช้สำหรับกำหนด TextBox สามารถพิมพ์ข้อมูลได้หรือไม่

 

MaxLength

ใช้สำหรับกำหนดความยาวของข้อมูลตัวอักษรที่สามารถพิมพ์ได้

 

MultiLine

ใช้สำหรับกำหนดให้ TextBox สามารถพิมพ์ได้หลายบรรทัด

 

PasswordChar

ใช้สำหรับกำหนดตัวอักษรที่ต้องการให้แสดงขณะที่พิมพ์

 

ScrollBars

ใช้สำหรับกำหนดให้มี Scroll bars ใน TextBox

 

TabIndex

ใช้สำหรับกำหนดลำดับของ Control ที่ใช้ใน Form

 

Text

ใช้สำหรับกำหนดข้อความใน TextBox

 

ToolTipText

ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม

 

Visible

ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง TextBox

 

เมธอดที่สำคัญของ TextBox

 

SetFocus

เป็นการกำหนดให้รอรับข้อมูลที่ TextBox

 

อีเวนต์ที่สำคัญของ TextBox

 

Change

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อข้อมูลของ TextBox มีการเปลี่ยนแปลง

 

GotFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ TextBox เริ่มถูกใช้งาน

 

KeyPress

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่มใด ๆ บนคีย์บอร์ด

 

LostFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ TextBox ถูกเลิกใช้งาน



Frame :
กรอบ  

 ทำหน้าที่แยกกลุ่มของ ActiveX Control ออกเป็นกลุ่ม ๆ โดย Frame จะสามารถบรรจุ Control ต่าง ๆ เอาไว้ภายในได้

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ Frame

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

BackColor

ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น

 

BorderStyle

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของเส้นขอบ

 

Caption

ใช้สำหรับกำหนดข้อความ

 

Font

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบตัวอักษร

 

ForeColor

ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษร

 

ToolTipText

ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม

 

Visiable

ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง Frame



CommandButton :
ปุ่มกด   

 ใช้สำหรับรอรับการกดปุ่ม <Enter> หรือ คลิกเมาส์ เพื่อให้เกิดการทำงาน บางครั้งเราจะเรียกสั้น ๆ ว่า Button

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ CommandButton

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

BackColor

ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น

 

Caption

ใช้สำหรับกำหนดข้อความ

 

Font

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบตัวอักษร

 

Index

ใช้สำหรับกำหนดลำดับสมาชิกของ CommandButton กรณีที่กำหนดให้เป็น Array

 

Picture

ใช้สำหรับกำหนดรูปภาพบน CommandButton

 

Style

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของปุ่มให้สามารถใช้งาน Graphic ได้หรือไม่

 

TabIndex

ใช้สำหรับกำหนดลำดับของ Control ที่ใช้ใน Form

 

ToolTipText

ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม

 

Visiable

ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง CommandButton

 

เมธอดที่สำคัญของ CommandButton

 

SetFocus

เป็นการกำหนดให้รอรับการ Click หรือ กดปุ่ม <Enter> ที่ CommandButton

 

อีเวนต์ที่สำคัญของ CommandButton

 

Click

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่ม

 

GotFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ CommandButton เริ่มถูกใช้งาน

 

LostFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ CommandButton ถูกเลิกใช้งาน



CheckBox :
ตัวเลือก   

 ใช้สำหรับเลือกข้อมูลที่ต้องการ โดยจะเลือกหรือไม่ก็ได้ และสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือก

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ CheckBox

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

Alignment

ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของข้อมูลบน CheckBox

 

BackColor

ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น

 

Caption

ใช้สำหรับกำหนดข้อความ

 

Font

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบตัวอักษร

 

ForeColor

ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษร

 

Index

ใช้สำหรับกำหนดลำดับสมาชิกของ CheckBox กรณีที่กำหนดให้เป็น Array

 

Style

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของ CheckBox

 

TabIndex

ใช้สำหรับกำหนดลำดับของ Control ที่ใช้ใน Form

 

ToolTipText

ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม

 

Value

ใช้สำหรับกำหนดค่าการเลือก

 

Visiable

ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง CheckBox

 

เมธอดที่สำคัญของ CheckBox

 

SetFocus

ใช้สำหรับกำหนดให้รอรับการเลือกข้อมูลที่ CheckBox

 

อีเวนต์ที่สำคัญของ CheckBox

 

Click

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่ม

 

GotFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ CheckBox เริ่มถูกใช้งาน

 

KeyPress

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่มใด ๆ บนคีย์บอร์ด

 

LostFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ CheckBox ถูกเลิกใช้งาน



OptionButton :
ตัวเลือกบังคับเลือก   

 ใช้บังคับเลือกข้อมูลโดยสามารถเลือกข้อมูลได้เพียงค่าเดียวในกลุ่มเดียวกัน

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ OptionButton

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

Alignment

ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของข้อมูลบน OptionButton

 

BackColor

ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น

 

Caption

ใช้สำหรับกำหนดข้อความ

 

Font

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบตัวอักษร

 

ForeColor

ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษร

 

Index

ใช้สำหรับกำหนดลำดับสมาชิกของ OptionButton กรณีที่กำหนดให้เป็น Array

 

Style

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของ OptionButton

 

TabIndex

ใช้สำหรับกำหนดลำดับของ Control ที่ใช้ใน Form

 

ToolTipText

ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม

 

Value

ใช้สำหรับกำหนดค่าการเลือก

 

Visiable

ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง OptionButton

 

เมธอดที่สำคัญของ OptionButton

 

SetFocus

ใช้สำหรับกำหนดให้รอรับการเลือกข้อมูลที่ OptionButton

 

อีเวนต์ที่สำคัญของ OptionButton

 

Click

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่ม

 

GotFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ OptionButton เริ่มถูกใช้งาน

 

KeyPress

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่มใด ๆ บนคีย์บอร์ด

 

LostFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ OptionButton ถูกเลิกใช้งาน



ComboBox :
กล่องรายการข้อมูล   

 ใช้สำหรับการเลือกข้อมูลจากรายการข้อมูลที่มีอยู่ โดยจะไม่แสดงรายการข้อมูลจนกว่าจะ Click Mouse ที่ Drop Down จึงจะแสดงรายการข้อมูลให้เลือก

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ ComboBox

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

BackColor

ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น

 

Font

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบตัวอักษร

 

ForeColor

ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษร

 

Index

ใช้สำหรับกำหนดลำดับสมาชิกของ ComboBox กรณีที่กำหนดให้เป็น Array

 

List

ใช้สำหรับใส่ระบุหรือกำหนดตัวเลือก

 

ListIndex

ใช้สำหรับระบุลำดับตัวเลือก

 

Locked

ใช้สำหรับกำหนดให้ ComboBox สามารถพิมพ์ หรือเลือกข้อมูล ได้หรือไม่ได้

 

Style

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของ ComboBox

 

TabIndex

ใช้สำหรับกำหนดลำดับของ Control ที่ใช้ใน Form

 

Text

ใช้สำหรับกำหนดข้อความใน ComboBox

 

ToolTipText

ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม

 

Visiable

ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง ComboBox

 

เมธอดที่สำคัญของ ComboBox

 

AddItem

เป็นคำสั่งสำหรับเพิ่มตัวเลือกเข้าไปใน ComboBox

 

Clear

เป็นคำสั่งสำหรับลบข้อมูลทั้งหมดใน ComboBox

 

RemoveItem

เป็นคำสั่งสำหรับลบข้อมูลโดยต้องระบุลำดับของข้อมูลที่ต้องการลบ

 

SetFocus

ใช้สำหรับกำหนดให้รอรับการเลือกข้อมูลที่ ComboBox

 

อีเวนต์ที่สำคัญของ ComboBox

 

Change

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อข้อมูลของ ComboBox มีการเปลี่ยนแปลง

 

Click

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่มเลื่อนตำแหน่งหรือ Click Mouse

 

GotFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ComboBox เริ่มถูกใช้งาน

 

KeyPress

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่มใด ๆ บนคีย์บอร์ด

 

LostFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ComboBox ถูกเลิกใช้งาน



ListBox :
กล่องรายการข้อมูล   

 ใช้สำหรับเลือกข้อมูลจากรายการข้อมูลที่มีอยู่

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ ListBox

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

BackColor

ใช้สำหรับกำหนดสีพื้น

 

Font

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบตัวอักษร

 

ForeColor

ใช้สำหรับกำหนดสีตัวอักษร

 

Index

ใช้สำหรับกำหนดลำดับสมาชิกของ ListBox กรณีที่กำหนดให้เป็น Array

 

List

ใช้สำหรับใส่ระบุหรือกำหนดตัวเลือก

 

ListIndex

ใช้สำหรับระบุลำดับตัวเลือก

 

Locked

ใช้สำหรับกำหนดให้ ListBox สามารถพิมพ์ หรือเลือกข้อมูล ได้หรือไม่ได้

 

Style

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของ ListBox

 

TabIndex

ใช้สำหรับกำหนดลำดับของ Control ที่ใช้ใน Form

 

Text

ใช้สำหรับกำหนดข้อความใน ListBox

 

ToolTipText

ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม

 

Visiable

ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง ListBox

 

เมธอดที่สำคัญของ ListBox

 

AddItem

เป็นคำสั่งสำหรับเพิ่มตัวเลือกเข้าไปใน ListBox

 

Clear

เป็นคำสั่งสำหรับลบข้อมูลทั้งหมดใน ListBox

 

RemoveItem

เป็นคำสั่งสำหรับลบข้อมูลโดยต้องระบุลำดับของข้อมูลที่ต้องการลบ

 

SetFocus

ใช้สำหรับกำหนดให้รอรับการเลือกข้อมูลที่ ListBox

 

อีเวนต์ที่สำคัญของ ListBox

 

Change

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อข้อมูลของ ListBox มีการเปลี่ยนแปลง

 

Click

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่มเลื่อนตำแหน่งหรือ Click Mouse

 

GotFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ListBox เริ่มถูกใช้งาน

 

KeyPress

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกดปุ่มใด ๆ บนคีย์บอร์ด

 

LostFocus

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ListBox ถูกเลิกใช้งาน



Image :
รูปภาพ   

 ใช้สำหรับแสดงรูปภาพ

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ Image

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

BorderStyle

ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของเส้นขอบ

 

Index

ใช้สำหรับกำหนดลำดับสมาชิกของ Image กรณีที่กำหนดให้เป็น Array

 

Picture

ใช้สำหรับกำหนดรูปภาพบน Image

 

Stretch

ใช้สำหรับกำหนดให้ปรับขนาดของรูปภาพให้พอดีกับขนาดของ Image

 

ToolTipText

ใช้สำหรับแสดงข้อความอธิบายเพิ่มเติม

 

Visiable

ใช้สำหรับกำหนดให้ซ่อนหรือแสดง Image

 

อีเวนต์ที่สำคัญของ Image

 

Click

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการ Click Mouse ที่ Image



Timer :
เวลา   

 ใช้สำหรับกำหนดการทำงานของ Control ที่ต้องการให้ทำงานตามช่วงเวลา

พร็อบเพอร์ตี้ที่สำคัญของ Timer

 

Name

ใช้สำหรับกำหนดชื่อ

 

Interval

ใช้สำหรับกำหนดช่วงเวลา

 

อีเวนต์ที่สำคัญของ Timer

 

Timer

เป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเวลาเปลี่ยน

 

opartor.htm